KUBET thailand -ปส. ผนึกความร่วมมือเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติ จัดเวิร์กชอป “Biological Dosimetry” เสริมแกร่งระบบตอบสนองเหตุทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทย
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ รรท. เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ปส. ตระหนักถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม วิจัย และพลังงานสะอาด โดยเฉพาะการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small/Micro Modular Reactors – SMRs/MMRs) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่มุ่งใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นกลไกหลักในการสร้างความมั่นคงของชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน
นางสาวอัมพิกา อภิชัยบุคคล รองเลขาธิการ ปส. ได้รับมอบหมายเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Biological Dosimetry Workshop in Bangkok” ระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2568 ณ อาคาร 60 ปี ห้องประชุมแอลฟา ชั้น 4 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านมาตรวัดรังสีทางชีวภาพ (Biological Dosimetry) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินปริมาณรังสีที่บุคคลได้รับในกรณีเกิดเหตุทางนิวเคลียร์และรังสี อันเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักภาพด้านการวิเคราะห์ Dicentric Chromosome Analysis (DCA) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมชนิดไดเซนทริก (โครโมโซมที่มีจุดศูนย์กลางหรือเซนโทรเมีย 2 จุดจากปกติที่มีเพียง 1 จุด อันเป็นผลกระทบโดยตรงที่จำเพาะกับการได้รับรังสีชนิดก่อไอออนที่ทำให้เกิดการหักและเชื่อมต่อผิดรูปของโครโมโซม) และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็น มาตรฐานหลัก (Gold Standard) ของมาตรวัดรังสีทางชีวภาพ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความจำเพาะและสามารถนำมาใช้ประเมินปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับอย่างถูกต้องแม่นยำน่าเชื่อถือ การตรวจวิเคราะห์นี้จึงมีบทบาทสำคัญในประเมินระดับการได้รับรังสีของผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และช่วยวางแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุมในครั้งนี้มีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการเข้าร่วมกว่า 40 คน รวมถึงผู้แทนจากเครือข่ายมาตรวัดรังสีทางชีวภาพของประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะ Gold Standard อาทิ กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, กรมควบคุมโรค, สำนักอนามัย, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า เวทีนี้ไม่เพียงเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ทันสมัย แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับแนวทางการปฏิบัติร่วมเชิงนโยบาย เพื่อเชื่อมโยงระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในการรับมือกับภัยคุกคามอุบัติใหม่ นอกจากนี้ ยังได้มีการพูดคุยถึงวิวัฒนาการงานตรวจวิเคราะห์แบบออโตเมชั่นและความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย ลดเวลาและกำลังคน โดยอาจเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพแต่ยังคงมาตรฐานการตรวจวัดตามมาตรฐานสากลได้อีกด้วย
ปส. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทย ยืนยันความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างศักยภาพด้านมาตรวัดรังสีทางชีวภาพของประเทศให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ภาคธุรกิจ และประชาคมระหว่างประเทศว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการป้องกันและตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์อย่างรอบด้าน การดำเนินการในครั้งนี้ยังสะท้อนถึงการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความมั่นคงด้านสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรม สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อก้าวไปสู่สังคมไทยที่ปลอดภัย มั่นคง และทันสมัยบนพื้นฐานขององค์ความรู้และนวัตกรรม
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เผยแพร่โดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม เบอร์โทรศัพท์ภายใน 1110 , 1120